ม.6 ว 6.1 ม.4-6/3 ทดลองเลียนแบบ และอธิบายกระบวนการเกิดภูเขา รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด


ว 6.1 ม.4-6/3 ทดลองเลียนแบบ และอธิบายกระบวนการเกิดภูเขา รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
27. การปะทุของภูเขาไฟที่เกิดขึ้นมักจะนำความความเสียหายทั้งสิ่งมีชีวิต สิ่งก่อสร้าง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภูมิลักษณ์ของภูเขาไฟเอง  แต่ขณะเดียวกันก็พบว่า การปะทุของภูเขาไฟแต่ละครั้งก็ให้ประโยชน์หลายประการ  ยกเว้นข้อใด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ                                                     
       2. ช่วยปรับระดับเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล
       3. พื้นที่บริเวณใกล้เคียงเป็นแหล่งดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชหลายชนิด
       4. พื้นที่บริเวณใกล้เคียงจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด
28.ลักษณะสำคัญทางธรณีวิทยาบริเวณที่เรียกว่า วงแหวนไฟ (ring of fire)” เป็นอย่างไร      (ว 6.1 ม.4-6/3)   
       1. บริเวณฝั่งทะเลที่มีไฟอยู่ล้อมรอบเป็นวงกลม
       2. บริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) รอบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
       3. ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูง และมีรอยเลื่อนเป็นจำนวนมากเรียงรายเป็นวงแหวน
       4. สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีปริมาณแก๊ส CO2 อยู่หนาแน่น ทำให้มีอุณหภูมิบริเวณรอบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกสูงขึ้น
29.  การเกิดแผ่นดินไหวจะมีเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นเรียงลำดับตามข้อใด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. แผ่นดินไหวหลัก (mainshock) - แผ่นดินไหวนำ (foreshock) - แผ่นดินไหวตาม (aftershock)
       2. แผ่นดินไหวหลัก (mainshock) - แผ่นดินไหวตาม (aftershock) - แผ่นดินไหวนำ (foreshock)
       3. แผ่นดินไหวนำ (foreshock) - แผ่นดินไหวหลัก (mainshock) - แผ่นดินไหวตาม (aftershock)
        4. แผ่นดินไหวนำ (foreshock) - แผ่นดินไหวตาม (aftershock) - แผ่นดินไหวหลัก (mainshock)
30.  ข้อใดกล่าวถึงคลื่นไหวสะเทือนได้ถูกต้อง (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. คลื่นทุติยภูมิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าคลื่นปฐมภูมิ   
       2. คลื่นปฐมภูมิเดินทางผ่านชั้นแก่นโลกได้ดีกว่าคลื่นทุติยภูมิ
       3. คลื่นปฐมภูมิเป็นคลื่นตามขวาง  คลื่นทุติยภูมิเป็นคลื่นตามยาว
       4. คลื่นทุติยภูมิเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวได้ดีกว่าคลื่นปฐมภูมิ

31.  ไซสโมกราฟ (seismograph) เป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับข้อใด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. เครื่องวัดความยาวคลื่นสึนามิ                                  
       2. เครื่องตรวจหาจุดศูนย์เกิดคลื่นไหวสะเทือน
       3. เครื่องวัดความถี่คลื่นจากการปะทุของภูเขาไฟ         
       4. เครื่องวัดความไหวสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว
32.  ข้อใดเรียงลำดับพลังงานที่เกิดขึ้นของคลื่นไหวสะเทือนจากมากไปน้อยได้ถูกต้อง              (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. คลื่นเลิฟ  คลื่นเรย์ลี  คลื่นปฐมภูมิ  คลื่นทุติยภูมิ             
       2. คลื่นปฐมภูมิ  คลื่นเลิฟ  คลื่นทุติยภูมิ  คลื่นเรย
       3. คลื่นทุติยภูมิ  คลื่นปฐมภูมิ  คลื่นเลิฟ  คลื่นเรย์ลี            
       4. คลื่นปฐมภูมิ  คลื่นทุติยภูมิ  คลื่นเลิฟ  คลื่นเรย์ลี
33.  บริเวณใดที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวน้อยที่สุด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก                
       2. บริเวณที่อยู่ห่างจากขอบแผ่นของเปลือกโลกมาก ๆ
       3. แนวของเทือกเขากลางมหาสมุทร              
       4. บริเวณขอบของเปลือกโลกสองแผ่นที่เลื่อนไถลสัมพัทธ์ซึ่งกันและกัน
34.  บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดคือข้อใด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก                                
       2. แนวของเทือกเขากลางมหาสมุทร
       3. บริเวณที่อยู่ห่างจากขอบแผ่นของเปลือกโลกมาก ๆ  
       4. บริเวณขอบของเปลือกโลกสองแผ่นที่เลื่อนไถลสัมพัทธ์ซึ่งกันและกัน
35. รอยเลื่อนใดในประเทศไทยที่มีรอยต่อกับรอยเลื่อนของพม่าและมักเกิดแผ่นดินไหวนับพันครั้ง (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. รอยเลื่อนเวียงเจดีย์                        2. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน
       3. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์                           4. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
36. คาบอุบัติซ้ำหมายถึงข้อใด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. ศูนย์การเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณเดิมที่เคยเกิดขึ้นในทุก ๆ รอบ 50 ปี อาจเป็นร้อยปีหรือพันปี หรือน้อยกว่านั้น
       2. ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้นแล้วกลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีกอาจเป็นร้อยปีหรือพันปี หรือน้อยกว่านั้น                
       3. การเกิดแผ่นดินไหวตามทุก ๆ ระยะเวลา  50 นาที ภายหลังการเกิดแผ่นดินไหวหลักเพื่อคำนวณหาการเกิดแผ่นดินไหว ในรอบต่อไป อาจเป็นร้อยปีหรือพันปี หรือน้อยกว่านั้น     
       4. จำนวนคาบของการเกิดแผ่นดินไหวในรอบปีที่เกิดในบริเวณเดิม โดยคำนวณจากความถี่และช่วงเวลาของการเกิดแผ่นดินไหวตามในแต่ละครั้ง อาจเป็นร้อยปีหรือพันปี หรือน้อยกว่านั้น
37.   วงแหวนไฟ (ring of fire) หมายถึงข้อใด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. บริเวณที่เกิดภูเขาไฟ แผ่นดินไหว และคาบอุบัติซ้ำ ตามแนวรอยแตกรอบโลกเป็นรูปวงแหวนขนาดใหญ่                 
       2. บริเวณที่เกิดแนวเทือกภูเขาไฟใต้มหาสมุทรและแผ่นดินไหวบ่อยครั้งมากที่สุด อยู่ในบริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิก                 
       3. แนวมุดตัวตามรอยแยกของเปลือกโลกตลอดชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา เลยไปจนถึงหมู่เกาะในแปซิฟิกใต้ และผ่านไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้       
       4. แนวเขตที่เกิดไฟป่ามากที่สุดในช่วงฤดูร้อนมีลักษณะวงแหวนขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศวิทยาของโลก
38. ลาวาที่มีการแข็งตัวช้าและอัตราการไหลเร็วมากมักจะก่อให้เกิดภูเขาไฟที่มีรูปทรงตาม
ข้อใด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. กรวดกรวยภูเขาไฟ (cinder cone)                       2. ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano)
       3. กรวยภูเขาไฟแบบสลับชั้น (composite cone)          4. บะซอลต์โคน (basalt cone)    
39.  แคลดีรา (caldera) หมายถึงข้อใด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. บริเวณแอ่งที่ราบกว้างขนาดใหญ่ซึ่งมีภูเขาไฟเกิดขึ้นกลางแอ่งจำนวนมาก
       2. แอ่งภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่เอียงลาดชันลงสู่ก้นแอ่งเป็นรูปกระจาด มักเป็นลานหรือเป็นที่ราบกว้าง  
       3. แอ่งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการจมตัวของปล่อง เนื่องจากหินหนืดที่รองรับอยู่เบี่ยงออกไปปะทุบริเวณด้านข้าง               
       4. บริเวณที่ราบลุ่มน้ำขังขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรง ทำให้ส่วนบนของยอดภูเขาไฟหายไป                 
40.  ข้อใดเรียงลำดับขนาดของหินตะกอนภูเขาไฟจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็กสุด (ว 6.1 ม.4-6/3)       
       1. มูลภูเขาไฟ  กรวดภูเขาไฟ  บล็อกภูเขาไฟ  บอมบ์ภูเขาไฟ    
       2. บอมบ์ภูเขาไฟ  บล็อกภูเขาไฟ  กรวดภูเขาไฟ มูลภูเขาไฟ
       3. มูลภูเขาไฟ  บล็อกภูเขาไฟ  กรวดภูเขาไฟ  บอมบ์ภูเขาไฟ    
       4. บอมบ์ภูเขาไฟ  กรวดภูเขาไฟ  บล็อกภูเขาไฟ  มูลภูเขาไฟ

ความคิดเห็น

  1. นายทิน​ภัทร​เมือง​มาก​

    ตอบลบ
  2. นายชาญชัย มณีทอง

    ตอบลบ
  3. นางส่าว ปิยาอรา บัวน่วม

    ตอบลบ
  4. สมปอง แก้วภูมิแห่

    ตอบลบ
  5. นายชัชวาล พรมกลาง

    ตอบลบ
  6. นางสาวชุติมา อรุณรัตน์

    ตอบลบ
  7. นางสาวแพรวพรรณ ศิริจันทร์

    ตอบลบ
  8. นายพงษ์ศักดิ์ จงกรด

    ตอบลบ
  9. นางสาวอธิติยา สาทิพจันทร์

    ตอบลบ
  10. นางสาวนิตยา ยิ่งเหมาะ

    ตอบลบ
  11. นางสาวจิรสุตา โคเเก้ว

    ตอบลบ
  12. นายสมภพ ชำนาญกิจ

    ตอบลบ
  13. นายสุวรรณ ดาวดายรัมย์

    ตอบลบ
  14. นายอดิศรณ์ สะเดา

    ตอบลบ
  15. กรุณาลงชื่อเขาอ่านและเรียนด้่วยตนเอง 12 กค 62

    ตอบลบ
  16. ปรเมษฐ์ ลือปัญญา 12/07/62

    ตอบลบ
  17. นางสาวปิยาอร บัวน่วม. 12.07.62

    ตอบลบ
  18. สมปอง แก้วภูมิแห่ 12/07/62

    ตอบลบ
  19. นายชาญชัย มณีทอง 12/07/62

    ตอบลบ
  20. นางสาวแพรวพรรณ ศิริจันทร์ 12/07/62

    ตอบลบ
  21. นายอดิศรณ์ สะเดา 12/07/62

    ตอบลบ
  22. นายพีระวัฒน์ ผาสนุก 12/07/62

    ตอบลบ
  23. 12/7/2562
    น.ส.พรอุมา ฉงอนรัมย์

    ตอบลบ
  24. 12/7/2562
    นายสุวรรณ ดาวดายรัมย์

    ตอบลบ
  25. นายพงศธร โตนไธสง 12/7/2562

    ตอบลบ
  26. นายปิยณัฐ ศรีพลัง 12/07/62

    ตอบลบ
  27. นายเอกพัฒน์ งามดี 12/07/62

    ตอบลบ
  28. นายชัชวาล พรมกลาง12/07/62

    ตอบลบ
  29. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  30. นางสาวอธิติยา สาทิพจันทร์
    12/7/62

    ตอบลบ
  31. นางสาวอธิติยา สาทิพจันทร์
    12/7/62

    ตอบลบ
  32. นางสาวอัญชลี โยธี 12/07/62

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงานประเภทการสำรวจ (Survey Research Project)

แนวข้อสอบพร้อมเฉลย วิชาพลังงาน

โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ (Developmental Research Project or Invention)