บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ แนวคิด

รูปภาพ
การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร   การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์   และการนำเสนอ แนวคิด เป็นการฝึกทักษะให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ปัญหา   สามารถเขียนปัญหาในรูปแบบของตาราง    กราฟหรือข้อความ   เพื่อสื่อสารความสัมพันธ์ของจำนวนเหล่านั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้   การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร   การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์   และการนำเสนอมีแนวทางดังนี้ 1.  กำหนดโจทย์ปัญหาที่น่าสนใจ   และเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน 2.   ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและแสดงความคิดเห็นด้วยตนเอง   โดยผู้สอนช่วยชี้แนะแนวทางในการสื่อสาร   สื่อความหมายและการนำเสนอ ประโยชน์                 การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร   การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์   และการนำเสนอ เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะ   การสื่อสาร   การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  

การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล

รูปภาพ
การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล แนวคิด       เป็นการจัดสถานการณ์หรือปัญหาที่น่าสนใจให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ   ผู้สอนจะใช้คำถามกระตุ้น   ด้วยคำว่า   ทำไม   อย่างไร   เพราะเหตุใด   เป็นต้น   พร้อมทั้งให้ข้อคิดเพิ่มเติม   เช่น “ ถ้า......แล้ว   ผู้เรียนคิดว่า   จะเป็นอย่างไร ”  เหตุผลที่ไม่สมบูรณ์ต้องไม่ตัดสินว่าไม่ถูกต้อง   แต่ใช้คำพูดเสริมแรงให้กำลังใจ   เช่น   “ คำตอบที่นักเรียนให้มีบางส่วนถูกต้อง   นักเรียนคนใดจะอธิบายหรือให้เหตุผลเพิ่มเติมของเพื่อนได้อีกบ้าง ”  เพื่อให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ 1.  ให้นักเรียนพบกับโจทย์ปัญหาที่น่าสนใจเป็นปัญหาที่ไม่ยากเกินที่นักเรียนจะคิดและให้เหคุผลของคำตอบได้ 2.   ผู้เรียนมีโอกาส    มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในการใช้และให้เหคุผลของตนเอง 3.   ผู้สอนช่วยสรุปและชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจว่าเหตุผลของผู้เรียนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ หรือไม่   ขาดตกบกพร่องอย่างไร ประโยชน์ การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล   เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถคิดอย่างมีเหตุผลและรู้จักให้เหตุผลและร่วมกันหาคำตอบ

การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา

การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา แนวคิด                 การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา   โดยการจัดสถานการณ์   หรือปัญหา   หรือเกมที่น่าสนใจ   ท้าทายให้อยากคิดอาจเริ่มด้วยปัญหาที่ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาแล้วมาประยุกต์ก่อน   ต่อจากนั้นจึงเพิ่มสถานการณ์หรือปัญหาที่แตกต่างจากที่เคยพบมา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการแก้ปัญหา มี   4  ขั้นตอน 1.  ทำความเข้าใจปัญหาหรือวิเคราะห์ปัญหา 2.  วางแผนแก้ปัญหา 3.  ดำเนินการแก้ปัญหา 4. ตรวจสอบหรือมองย้อนกลับ ประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจกระบวนการและพัฒนาทักษะ   เน้นฝึกวิเคราะห์แนวคิดอย่างหลากหลาย

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction Method)

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย ( Induction  Method) แนวคิด    กระบวนการที่ผู้สอนจากรายละเอียดปลีกย่อย   หรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่   หรือกฎเกณฑ์   หลักการ   ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป   โดยการนำเอาตัวอย่างข้อมูล   เหตุการณ์   สถานการณ์หรือปรากฏการณ์   ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษา   สังเกต   ทดลอง   เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการหรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้ 1.  ขั้นเตรียมการ   เป็นการเตรียมตัวผู้เรียน   ทบทวนความรู้เดิมหรือปูพื้นฐานความรู้                             2.  ขั้นเสนอตัวอย่าง   เป็นขั้นที่ผู้สอนนำเสนอตัวอย่างข้อมูล   สถานการณ์   เหตุการณ์   ปรากฏการณ์   หรือแนวคิดให้ผู้เรียนได้สังเกตลักษณะและคุณสมบัติของตัวอย่างเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบสรุปเป็นหลักการ   แนวคิด   หรือกฎเกณฑ์   ซึ่งการนำเสนอตัวอย่างควรเสนอหลายๆตัวอย่างให้มากพอที่ผู้เรียนสามารถสรุปเป็นหลักการหรือหลักเกณฑ์ต่างๆได้  3.   ขั้นเปรียบเทียบ   เป็นขั้นที่ผู้เรียนทำการสังเกต   ค้นคว้า   วิเคราะห์   รวบรวม   เปรียบเทียบความคล้ายค

การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)

การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย ( Deductive  Method) แนวคิด      กระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ   ทฤษฎี   หลักเกณฑ์   ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน   จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง   หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี   หลักการ   หลักเกณฑ์   กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย    หรืออาจเป็นหลักลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี   กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น   การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล   ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ   และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์   ทฤษฎี   ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า   เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสอนแบบนิรนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้ 1.  ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา   เป็นการนำเข้าสูบทเรียนโดยการเสนอปัญหาหรือระบุสิ่งที่ จะสอนในแง่ของปัญหา   เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ   ปัญหาที่จะนำเสนอควรจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน 2.  ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี   หลักการ

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ ( Discovery Method) แนวคิด    เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่นผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา หรือผุ้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์ ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะใช้วิธีการหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา หรือปัญหา ดังนั้นจึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย   เช่น   การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอ

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แนวคิด   เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม ตัวปัญหาจะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล และการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัวปัญหา รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้          1.  ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาจัดสถานการณ์ต่าง ๆ   กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มองเห็นปัญหากำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียน และเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบ           2.  ทำความเข้าใจกับปัญหา ผู้เรียนจะต้องสามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อกับปัญหาได้            3.  ดำเนินการศึกษาค้นคว้า กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนและดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างหลากหลาย 4.  สังเคราะห์ความรู้ ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อภิปรายผลและสังเคราะห์ความรู้ที่ได้มาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่           5. สรุปและประเมินค่าของคำตอบ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปสรุปผลงานของกลุ่มตนเอง ประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ได้ศึกษา

วิธีสอนแบบโครงงาน(Project Method)

วิธีสอนแบบโครงงาน( Project Method) แนวคิด  เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จนการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อันเป็นประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้วิธีการสอนแบบโครงงานสามารถสอนต่อเนื่องกับวิธีสอนแบบบูรณาการ ทั้งในรูปแบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการเพื่อทำโครงงาน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้   ต่อไป ลำดับขั้นการสอนแบบโครงงาน          1.  ขั้นกำหนดปัญหา หรือสำรวจความสนใจ ผู้สอนเสนอสถานการณ์หรือตัวอย่างที่เป็นปัญหาและกระตุ้นให้ผู้เรียนหาวีการแก้ปัญหาหรือยั่วยุให้ผู้เรียนมีความต้องการใคร่เรียนใคร่รู้ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง           2.  ขั้นกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน ผู้สอนแนะนำให้ผู้เรียนกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าเรียนเพื่ออะไ

วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา

วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา แนวคิด   การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา เป็นแนวคิดของทิศนา แขมมณี ที่กล่าวว่า ซิปปา ( CIPPA) เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA”  สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย อาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ CIPPA MODEL เป็นวิธีหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า   รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้ การได้เคลื่อนไหวทางกาย การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้   การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA MODEL มาจากแนวคิดหลัก 5 แนวคิด ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการศึกษา ได้แก่           1.   แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ ( Contructivism)           2.   แนวคิดเรื่องกระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ ( Group Process and Cooperative Learning)           3.   แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ ( Learning Readiness

การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)

การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม ( Questioning Method) แนวคิด   เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้คำถามมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้           1.   ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน           2.   ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์           3.   ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ           4.   ขั้นสรุปและประเมินผล            4.1   การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถา
1.6 เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชในท้องถิ่น เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชในท้องถิ่น เทคโนโลยีชีวภาพ (  Biotechnology)  คือ การใช้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและผลิตผลของสิ่งมีชีวิตให้เป็นประโยชน์กับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้า ได้แก่ ผงซักฟอกชนิดใหม่ที่มีเอนไซม์ การทำปุ๋ยไว้ใช้เองจากวัสดุเกษตรเหลือทิ้ง เช่น ฟางข้าว มูลสัตว์ การขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ปัญหาน้ำทิ้งจากโรงงานอุสาหกรรม โดยการนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์แทนที่จะปล่อยทิ้งให้เน่าเหม็น รวมทั้งการถ่ายฝากตัวอ่อนสัตว์เพื่อให้ได้สัตว์พันธุ์ดีไว้ใช้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม เป็นต้น ประวัติ เทคโนโลยีชีวภาพเกิดขึ้นนับตั้งแต่ที่มีการค้นพบโครงสร้างของสารพันธุกรรม หรือ DNA  โดยเจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก ในปี พ.ศ. 2496 ต่อมามีการค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะในแบคทีเรีย โดยเวอร์เนอร์ อาร์เบอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2500-2510 ในปี พ.ศ. 2516 เอนไซม์ตัดจำเพาะนี้ถูกนำไปทดลองใช้ในการทดลองตัดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่ง แล้วนำไปใส่ให้แบคทีเรียอีกเซลล์หนึ่งเป็นผลสำเร็จ โดยแสตนลีย์ โคเฮน และเฮอร์เบิร์ด โบเยอร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 มีก