บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

ASEAN (อาเซียน)

รูปภาพ
ASEAN ( อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ            1. กัมพูชา            2. ไทย            3. บรูไนดารุสซาลาม            4. พม่า            5. ฟิลิปปินส์            6. มาเลเซีย            7. ลาว            8. สิงคโปร์            9. เวียดนาม            10. อินโดนีเซีย อาเซียน + 3 และ อาเซียน + 6 คืออะไร ?  อาเซียน + 3   คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่            1) จีน            2) ญี่ปุ่น            3) เกาหลีใต้ อาเซียน + 6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่            1) จีน            2) ญี่ปุ่น            3) เกาหลีใต้            4) ออสเตรเลีย            5) นิวซีแลนด์            6) อินเดีย

องค์ประกอบการเรียนรู้

องค์ประกอบการเรียนรู้                 เป็นโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้   ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามศักยภาพ   ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่ามีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน 4 องค์ประกอบ คือ                 1.   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์                 2.   การสร้างความรู้ร่วมกัน                 3.   การนำเสนอความรู้                 4.   การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ                 1.   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์                 เป็นองค์ประกอบที่ผู้สอนพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงประสบการณ์เดิมของตนมาเชื่อมโยง หรืออธิบายประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่   แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปหรือความรู้ใหม่   และแบ่งเป็นประสบการณ์ของตนเองกับผู้อื่นที่อาจมีประสบการณ์เหมือนหรือต่างจากตนเอง   เป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน                 องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้                 ผู้เรียน   รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่

เทคนิคที่ใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ

เทคนิคที่ใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ             เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือมีอยู่   2   แบบคือ   เทคนิคที่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนและเทคนิคที่ไม่ได้ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอน   ในที่นี้ผู้วิจัยสนใจที่จะเลือกใช้เทคนิคที่ไม่ใช้ตลอดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมงอาจใช้ในขั้นนำ    หรือจะสอดแทรกในขั้นสอนตอนใดก็ได้     หรือใช้ในขั้นสรุป     ขั้นทบทวน   ขั้นวัดผลของคาบเรียนใดคาบเรียนหนึ่งตามที่ครูผู้สอนกำหนดเทคนิควิธีเรียนแบบร่วมมือที่มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้             1. เทคนิคการพูดเป็นคู่ ( Rally robin ) เป็นเทคนิควิธีเรียนแบบร่วมมือที่นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มย่อย   แล้วครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พูด ตอบ แสดงความคิดเห็นเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่จะผลัดกันพูด และฟังโดยใช้เวลาเท่าๆ กัน ( Kagan. 1995 : 35 )             2. เทคนิคการเขียนเป็นคู่ ( Rally table ) เป็นเทคนิคคล้ายกับการพูดเป็นคู่ ต่างกันเพียงแต่ละคู่ผลัดกันเขียนหรือวาดแทนการพูด ( Kagan.   1995 : 35 )             3. เทคนิคการพูดรอบวง ( Round robin ) เป็นเทคนิคที่เปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มผลัดกันพูด       ตอบ อธิบาย    ซึ่งเป็นการ