มาช่วยกันดูแลเด็กที่สมาธิสั้น เพื่อให้เขาอยู่กับเพื่อนๆได้


                      
มารู้จักเด็กสมาธิสั้นหรือเด็กที่เป็นโรสมาธิสั้น

                   โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder-ADHD)  คือ   เป็นความผิด
      ปกติของพฤติกรรม  และอารมณ์ที่เกิดขึ้นในเด็กก่อนอายุ 7 ปี ทำให้มีอาการขาดสมาธิ
      (Inattention) ซน  อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)   และหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)    อันเป็นผล
      กระทบต่อพัฒนาการของเด็กหลายๆด้าน   ทั้งด้านการเรียน   การทำงาน  สังคม
                   ลักษณะของเด็กสมาธิสั้น
                   1. ความบกพร่องของพฤติกรรม (Hyperactivity)  กลุ่มซนอยู่ไม่นิ่ง หรือซนมากผิดปกติ
      หุนหันพลันแล่น  ขาดความยับยั้งชั่งใจมีลักษณะดังนี้
                        1.  ไม่รู้จักระมัดระวังตัวเอง  ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
                        2.  ลุกออกจากที่นั่งบ่อยๆ
                        3.  ชอบวิ่ง หรือปืนป่าย อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย วุ่นวาย
                        4.  พูดคุยมากเกินไป
                        5.  มีความลำบากในการเล่นคนเดียวเงียบ
                        6.  ลุกลี้ลุกลน
                        7.  อารมณ์ร้อน เปลี่ยนแปลงง่าย
                        8.  ขาดความอดทนในการรอคอย
                        9.  ชอบพูดขัดจังหวะ รบกวน ช่างฟ้อง
                   2. กลุ่มที่ไม่มีการซน แต่อยู่ไม่นิ่ง เป็นกลุ่มสมาธิที่บกพร่องของสมาธิ (Inattentive)
       มีลักษณะดังนี้
                        1.  มีปัญหาทางด้านกิจกรรมตามลำพังโดยเฉพาะคำสั่งยาวๆมีความลำบากในการฟัง
                   คำสั่งให้ตลอดใจความ
                        2.  มีความลำบากในการทำงาน หรือเล่นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงไป
                        3.  อุปกรณ์ เครื่องใช้เกี่ยวกับการเรียนต่างๆสูญหายบ่อยๆ
                        4. ไม่สนใจสิ่งเร้าสำคัญ แต่ไม่สนใจสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ
                        5.  ขาดสมาธิ หรือความตั้งใจในการทำกิจกรรมที่มีรายละเอียดปลีกย่อย หรือ
                   เรียนวิชาที่น่าเบื่อหน่ายใช้เวลานาน
                        6.   ขาดการวางแผนจัดการที่ดี (Disorganized)
                        7.   มีความลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานานๆ (Iong mental
                    effort)
                        8.   มักขี้ลืม ทำของหายเป็นประจำ หรือลืมนัด
                        9.   ถูกรบกวนจากสิ่งเร้าต่างๆง่ายมาก วอกแวกง่าย เหม่อลอยหรือช่างฝัน
                   3. ความบกพร่องในการคิดวางแผน (Impulsivity)  คือ  เด็กมักมีอาการหุนหัน   วู่วาม
      มีอาการไม่ยั้งคิด  ไม่อดทน   ไม่รู้จักการรอคอย  ใจร้อน  ไม่คิดก่อนพูดหรือก่อนทำ   เบื่อง่าย
      ควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎกติกาหรือระเบียบได้ยาก หงุดหงิดโมโหง่าย    มักตอบคำถามก่อน
      ที่ผู้ถามจะถามจบ  ชอบพูดแทรกคนอื่น  ทำให้อยู่ร่วมในครอบครัว สังคม โรงเรียน และสังคม
      ภายนอกได้
                   เด็กอาจมีอาการทั้ง 3 รูปแบบ หรือมีเพียงรูปแบบใดเพียง 1 หรือ 2 แบบ   ทำให้ขณะที่
      อยู่ในห้องเรียน   เด็กจะสนใจการเรียนไม่นาน เหม่อลอย หรือวอกแวกไปสนใจสิ่งนอกห้องเรียน
      แหย่เพื่อน  หรือรบกวนคนอื่นๆ ในห้องเรียน ไม่ตั้งใจเรียน   และผลการเรียนมักไม่ดีเท่าที่ควร
      เด็กมักถูกลงโทษจากทั้งคุณครูและผู้ปกครองบ่อยกว่า คนอื่น และถูกมองว่าเป็นเด็กดื้อ เด็กซน
      นิสัยไม่ดี     
                   โรคสมาธิสั้นเกิดจากสาเหตุ
                   1. โรคสมาธิสั้นที่เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองส่วนหน้า     มีผลทำให้
      การควบคุมสมาธิยาก  ขาดการคิดก่อนทำ   ควบคุมการหุนหันพลันแล่นไม่ได้   หรือเป็นไป
      อย่างยากลำบาก
                   2. เกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุล  ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี
      แม้เด็กจะพยายามควบคุมตนเองแล้วก็ตาม
                   3. สมองถูกทำให้เสียหาย  เช่น   การขาดออกซิเจน    การติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์
      การบาดเจ็บระหว่างคลอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
                   4. เกิดจากพันธุกรรม
                     การช่วยเหลือเด็กที่เป็นสมาธิสั้น ประกอบด้วย
                   1. การปรับพฤติกรรม   หลักการสำคัญในการปรับพฤติกรรมบุคคลสมาธิสั้น
                         1) การลดสิ่งเร้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับเด็กที่เป็นสมาธิสั้น เช่น ในเรื่องการจัด
      การเรียนการสอนให้กับเด็กที่เป็นสมาธิสั้น     ควรมีการจัดชั้นเรียนให้กับเด็กสมาธิสั้นให้
     เหมาะสม  คือครูควรจัดให้นั่งแถวหน้าใกล้ครู   ควรสบตาบ่อยๆ จะช่วยให้เด็กสนใจมากขึ้น
                         2) การเพิ่มสมาธิ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครู ควรใช้วิธีการดูแลที่ช่วยเพิ่มสมาธิให้เด็ก
     สมาธิสั้นจดจ่ออยู่กับหน้าที่      สำหรับเรื่องการเรียนที่โรงเรียนครู - อาจารย์ควรฝึกให้เด็ก
     สามารถทำงานอย่างต่อเนื่อง   โดยการกำหนดตารางเวลา หรือรายการสิ่งที่ต้องทำ   เพื่อป้องกัน
     การออกนอกกรอบ และครูต้องระลึกเสมอว่าเด็กที่เป็นสมาธิสั้นเหล่านี้ต้องการสิ่งเตือนต้องการ
     การแนะ   ต้องการการย้ำ   ต้องการคำสั่ง   ต้องการให้ขีดจำกัดและกรอบที่ชัดเจนแน่นอน
    โดยวิธีการที่นุ่มนวล   ดังนั้นครูผู้สอนควรให้ความสนใจกับความรู้สึกของเด็กควบคู่กับการ
     สอนเสมอ
                         สำหรับผู้ปกครอง  ควรเพิ่มสมาธิให้กับลูกโดยฝึกให้เขาสามารถจัดตารางเวลาการ
     ทำงานของตนเอง  หลังเลิกเรียน และสามารถทำงานต่อเนื่อง และพ่อแม่หรือผู้ปกครองควรนั่ง
     คอยดูแลแบบตัวต่อตัว   เพื่อเขาจะได้มีสมาธิให้จดจ่อกับงานและอย่าลืมคำชมและให้กำลังใจ
     ทุกครั้งที่เขาทำสิ่งที่ถูกต้อง และมีการพัฒนาตนเอง
                         อีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มสมาธิให้แก่เด็กสมาธิสั้นได้ก็คือ   การออกกำลังกาย
     เด็กสมาธิสั้นมักเป็นเด็กที่มีกำลังมากมาย          การให้เด็กออกกำลังกายให้เหนื่อยช่วยให้เด็กมี
     สมาธิดีขึ้น วุ่นวายน้อยลง นอกจากการออกกำลังกายยังเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างวินัยให้เด็ก
     แต่อย่าปล่อยให้สนุกมากเกินไป  โดยไร้จุดหมาย และควรใช้เวลาอย่างต่ำวันละ 20 นาที หรือ
     จนกระทั่งเหงื่อออก
                         3) การเพิ่มการควบคุมตนเอง     การเพิ่มการควบคุมตนเองในเด็กสมาธิสั้นเป็นสิ่งที่
     พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครูต้องพยายามฝึกให้เด็กมีมากขึ้น    โดยเริ่มต้นที่ครอบครัวที่มีระเบียบ
     วินัย   และกิจวัตรประจำวันที่แน่นอนสม่ำเสมอ  พ่อ  แม่  ผู้ปกครอง    และครูไม่ควรใช้อารมณ์
    ในการกำหนดว่าเด็กจะได้รับอนุญาตให้ทำในสิ่งใดหรือไม่     เมื่อจำเป็นที่ต้องใช้คำสั่งควรเป็น
     คำสั่งที่สั้นง่าย   ควรสั่งเมื่อเด็กมีสมาธิในการรับฟัง และสั่งเพิ่มเมื่อเด็กทำงานเสร็จแล้ว  ควรให้
     เด็กทบทวนคำสั่งหรือจดบันทึกเป็นข้อสั้นๆ ง่ายๆ ก่อนลงมือปฏิบัติ และควรให้เด็กปฏิบัติทันที
     เพราะเด็กสมาธิสั้นมักลืมง่าย    และเมื่อเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้ดีหรือมีพฤติกรรมดีขึ้น
     พ่อ  แม่   ผู้ปกครอง   ครู   ควรให้คำชมเชยหรือรางวัลทันที    ในทางตรงกันข้ามถ้าเขาทำผิดก็
     ต้องมีบทลงโทษที่ชัดเจน และควรลงโทษทันทีที่เด็กกระทำผิด
                         4) การสร้างความมั่นใจในตนเอง จากการที่เด็กสมาธิสั้น ซุกซน หรือก้าวร้าวเป็นผล
     ให้สังคมที่ล้อมรอบตัวเขาทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน   พ่อ   แม่   ผู้ปกครอง  ครู    และคนรอบข้าง
      แสดงความเบื่อหน่ายรำคาญในพฤติกรรมต่างๆ   ที่เกิดขึ้น     เลยไม่มีใครสนใจ    ไม่เข้าใกล้
      ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกต่ำต้อยในตนเอง     รู้สึกว่าไม่มีใครรัก      ไม่มีใครสนใจหรือต้องการ
      จึงทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง พ่อ   แม่   ผู้ปกครอง   ครู       สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้
      ด้วยการสร้างความมั่นใจในตนเองให้กับเด็กสมาธิสั้น โดยการชื่นชมและสัมผัส   ซึ่งจะช่วยให้
      เด็กรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยไม่คิดว่าตนเอง โดดเดี่ยวหรือถูกทอดทิ้ง  ซึ่งจะทำให้เด็กมีความมั่นใจ
     ในตนเองมากขึ้น
                   2. การช่วยเหลือด้านการเรียน   เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่มักมีปัญหาการเรียนร่วมด้วย
     เนื่องจากไม่สามารถเรียนได้ตามศักยภาพที่มี    ดังนั้นควรมีการประสานงานกับครูอย่างใกล้ชิด
     เพื่อจัดการเรียน   และสิ่งแวดล้อมในห้องให้เหมาะสมกับเด็ก    คือ  ห้องเรียนต้องค่อนข้างสงบ
    ไม่สับสนวุ่นวาย   และไม่มีสิ่งกระตุ้นมาก       มีระเบียบกำหนดกิจกรรมที่เด็กจะทำอย่างชัดเจน
     ก็จะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้เรียนได้ดีขึ้น
                    3. การรักษาโดยการใช้ยา     ยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นนั้นเป็นยาที่ปลอดภัยมีผล
     ข้างเคียงน้อย   และมีประสิทธิภาพในการรักษาสูง    ไม่ก่อให้เกิดการง่วงซึม       หรือสะสมใน
     ร่างกาย ยาจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น, ซนน้อยลง ดูสงบขึ้น, มีความสามารถในการควบคุมตนเอง
     ผลที่ตามมาคือ  การเรียนอาจดีขึ้น  มีความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือ คนรอบข้างดีขึ้น    และเด็กจะมี
     ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า แต่ถึงอย่างไรก็ดี ยาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาแบบผสมผสาน
     เท่านั้น    การใช้ยาร่วมกับการรักษา  โดยการปรับพฤติกรรม     และการช่วยเหลือด้านการเรียน
     จะได้ผลที่ดีกว่าการรักษาโดยการใช้ยาอย่างเดียว
                    โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วน      โดยยังไม่ทราบ
     สาเหตุแน่ชัดในปัจจุบัน   คาดว่าเกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุลทำให้เด็กไม่สามารถ
     ควบคุมตัวเองได้ดี    แม้เด็กจะพยายามควบคุมตนเองแล้วก็ตาม เ    ด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักไม่
     ประสบผลสำเร็จเท่าความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ทั้งด้านการเรียนและมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
     มักมีปัญหาทางจิตใจ  คือ  มองตนเองเป็นคนไม่ดี   ไม่มั่นใจตนเอง    รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่
ี่     ต้องการของใคร ๆ (พบว่าจำนวน 25% ของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะกลายเป็นเด็กเกเร ก้าวร้าว)
     ถ้าไม่ได้รับการรักษาช่วยเหลือก่อน




   
                                                         เอกสารอ้างอิง

                      กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลสมาธิสั้น.
                                        กรุงเทพมหานคร.
                      เพียงทิพย์ พรหมพันธ์. เด็กสมาธิสั้น. 2549. สำนักพิมพ์ For Chlld : กรุงเทพมหานคร.
             

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงานประเภทการสำรวจ (Survey Research Project)

แนวข้อสอบพร้อมเฉลย วิชาพลังงาน

โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ (Developmental Research Project or Invention)