1.4 การสืบพันธุ์ เเละการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
การสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์   คือ การสร้างชีวิตใหม่จากสิ่งมีชีวิตเดิม เพื่อดำรงสืบพันธุ์ไป  เป็นกระบวนการที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง
การสืบพันธุ์ของพืชโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น2 แบบ คือ
1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยไม่เพศ (Asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องใช้เซลล์  สืบพันธุ์ แต่ใช่ส่วนอื่นๆขยายพันธุ์แทน เช่น
-การแตกหน่อ (budding) ได้แก่  หน่อกล้วย  ไผ่  กล้วยไม้ เป็นต้น
-การสร้างสปอร์ (sporeformation) ได้แก่  มอส  เฟิร์น เป็นต้น
-การตอนกิ่ง (marcotting) ได้แก่  กุหลาบ  มะม่วง ส้ม  เงาะ  เป็นต้น
-การติดตา (budding) ได้แก่  กุหลาบ  ยางพารา เป็นต้น
-การทาบกิ่ง (grafting) ได้แก่  มะม่วง  ทุเรียน เป็นต้น
-การปักชำ (cutting) ได้แก่  ชบา  เฟื่องฟ้า เป็นต้น
การแตกต้นใหม่จากส่วนต่างๆของพืช
2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ(Sexualreproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยดอกมีการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
การจำแนกประเภทของดอกไม้
ประเภทของดอกไม้สามารถจำแนกออกได้เป็น4 ประเภท  คือ
1.      ดอกสมบูรณ์ (Complete flower)  คือ ดอกไม้ที่มีครบทั้ง 4วงคือ  กลีบเลี้ยง  กลีบดอก เกสรตัวผู้  และเกสรตัวเมีย  เช่น มะเขือ  พริก  ชบา เป็นต้น (ดอกสมบูรณ์ต้องเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ)
2.      ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect  flower)  คือดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน  เช่น มะม่วง กุหลาบ  ชบา  เป็นต้น(อาจเป็นดอกสมบูรณ์หรือไม่ก็ได้)
3.      ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete  flower)  คือ ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง 4 วง  อาจขาดวงใดวงหนึ่งหรือ 2 วงก็ได้  เช่น กาฝาก  หน้าวัว  ข้าวโพด ตำลึง  เป็นต้น (อาจเป็นดอกสมบูรณ์เพศหรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้)
4.      ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect  flower)  คือดอกไม้ที่มีแต่เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียวในแต่ละดอก  เช่น แตง  บวบ  ข้าวโพด เป็นต้น (เป็นดอกไม่สมบูรณ์เสมอ)
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายใน อับเรณู (anther)โดยมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell) แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้4 ไมโครสปอร์(microspore) แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเท่ากับn
หลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส ได้ 2 นิวเคลียสคือ เจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generativenucleus) และทิวบ์นิวเคลียส (tube nucleus) เรียกเซลล์ในระยะนี้ว่า ละอองเรณู(pollen grain)หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ละอองเรณูจะมีผนังหนาผนังชั้นนอกอาจมีผิวเรียบหรือเป็นหนามเล็กๆแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของพืชเมื่อละอองเรณูแก่เต็มท ี่อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไปได้
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (ovule) หรือหลายออวุลภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์(megaspore mother cell)มีจำนวนโครโมโซม 2n ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้4 เซลล์สลายไป 3 เซลล์ เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่า เมกะสปอร์ (megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเมกะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7เซลล์    3 เซลล์อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์  (micropyle) เรียกว่า แอนติแดล (antipodals)ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2 นิวเคลียสเรียก เซลล์โพลาร์นิวคลีไอ(polar nuclei cell)ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์ไข่ (eggcell) และ2 ข้างเรียก ซินเนอร์จิดส์(synergids) ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็นแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือ
แกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)
    การเจริญเติบโตของพืช
การเจริญเติบโตของพืช  คือ  การเพิ่มขนาดของพืช  ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ
3   กระบวนการ
คือ 1. การเพิ่มจำนวนเซลล์
2. การขยายขนาดของเซลล์
3.การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  คือ
1. เปลือกหุ้มเมล็ด(seed coat)  อยู่ชั้นนอกสุดของเมล็ด  ป้องกันอันตรายให้เมล็ด
2. เอนโดสเปิร์ม (endosperm)  ทำหน้าที่ สะสมอาหารพวกแป้ง  โปรตีน  ไขมัน และน้ำตาล  ไว้เลี้ยงต้นอ่อนในเมล็ด
3.ต้นอ่อน(embryo) คือ ส่วนที่เจริญไปเป็นต้นอ่อน ประกอบด้วย
ใบเลี้ยง(cotyledon) ทำหน้าที่  สะสมอาหารให้ต้นอ่อน
-  ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง(epicotyl) จะเจริญไปเป็นลำต้นส่วนบน กิ่ง  ก้าน  ใบ  ส่วนปลายสุดเรียกว่า ยอดแรกเกิด (plumule)
-  ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง(hypocotyl)  จะเจริญไปเป็นลำต้นส่วนล่าง  ส่วนปลายสุดที่อยู่ใต้ใบเลี้ยงเรียกว่า  รากแรกเกิด (radicle)ซึ่งจะกลายเป็นรากแก้วต่อไป
รากแรกเกิดจะงอกออกมาทางรอยแผลเป็น (raphae) ซึ่งบริเวณนี้จะมีรูที่เรียกว่า  ไมโครไพล์ (micropyle)เป็นทางงอกของเมล็ด
ปัจจัยที่มีต่อการงอกของเมล็ด
1. น้ำ                 2.ออกซิเจน              3.อุณหภูมิที่พอเหมาะ                                           
 การตอบสนองต่อสิ่งเร้า    การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช มีปัจจัยหลัก 2 ประการ ดังนี้
1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต  แบ่งได้ 2 ลักษณะ  คือ
1.1 การเคลื่อนไหวแบบอัตโนวัติ(Autonomic movement) ซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าภายในคือฮอร์โมนออกซิน  ขณะเจริญเติบโตปลายยอดจะแกว่งวนเป็นวงหรือโยกไปมาเรียกว่า นิวเตชัน(nutation)หรือในพืชบางชนิดลำต้นจะบิดเป็นเกลียวช้าๆและเป็นเกลียวถาวรเรียกว่า  สไปรอล(spiral
movement) พบในพืชพวกตำลึง  บวบ ฟักทอง
1.2 การเคลื่อนไหวแบบพาราโทนิก(Paratonic movement)เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น อุณหภูมิ  แสงสว่าง แรงโน้มถ่วงของโลก หรือสารเคมีบางอย่างมาทำให้พืชเกิดการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน
การเคลื่อนไหวแบบนาสติก(Nastic movement)เป็นการเคลื่อนไหวแบบมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับสิ่งเร้า
-การเคลื่อนไหวแบบทรอปิซึม(Tropism)  เป็นการเคลื่อนไหวแบบมีทิศทางสัมพันธ์กับสิ่งเร้า
2. การเคลื่อนไหวเนื่องจากแรงดันเต่ง(Turgormovement)
เกิดจากการมีน้ำเข้าไปทำให้เซลล์เต่งหรือเนื่องจากการสูญเสียน้ำออกไปทำให้แรงดันเต่งลดลง เช่น  ต้นไมยราบจะหุบใบถ้ามีการกระเทือนเกิดขึ้นหรือถ้าเราไปสัมผัส
ตรงโคนก้านใบและโคนก้านใบย่อยจะมีกลุ่มเซลล์ชนิดหนึ่งรวมเป็นกระเปาะเรียกว่า  พัลวินัส(pulvinus)เมื่อมีสิ่งใดมาสัมผัสจะมีผลให้แรงดันเต่งลดลงอย่างรวดเร็ว  ใบจึงหุบทันที
พืชพวกกระถิน จามจุรี  และใบพืชตระกูลถั่วอย่างอื่นจะหุบใบในตอนพลบค่ำเพราะเมื่อความเข้มของแสงลดลง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์ด้านบนและด้านล่างของโคนก้านใบและแผ่นใบทำให้ใบหุบ  หรือที่เรียกกันว่า ต้นไม้รู้นอน
พืชบางชนิดสามารถจับแมลงเป็นอาหารได้  เช่น ต้นกาบหอยแคง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงานประเภทการสำรวจ (Survey Research Project)

แนวข้อสอบพร้อมเฉลย วิชาพลังงาน

โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ (Developmental Research Project or Invention)