ปรากฏการทางลมฟ้าอากาศ


                                                                    ปรากฏการทางลมฟ้าอากาศ

          ลมฟ้าอากาศ คือ สภาวะของบนพื้นที่ใด ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ส่วน ภูมิอากาศ คือ สภาวะโดยทั่วไปของลมฟ้าอากาศบนพื้นที่ใด ๆ ในช่วงเวลานาน ๆ ลมฟ้าอากาศหรือภูมิอากาศมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  การทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภูมิอากาศจะมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรในการเลือกชนิดหรือพันธุ์พืชที่ต้องการปลูกให้ได้ผลดี  การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ทิศทางลม หรือทิศทางที่ได้รับแสงอาทิตย์
             เมื่อน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ จะระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ  ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ขึ้น
             หมอก (fog) เกิดจากไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ  ลอยอยู่ในอากาศใกล้พื้นโลก  โดยขนาดของไอน้ำจะมีขนาดใหญ่กว่าหยดน้ำในเมฆ
          น้ำค้าง (dew) เกิดจากไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงในตอนกลางคืน ทำให้อากาศอิ่มตัว  โดยอุณหภูมิลดลงจนกระทั่งอากาศไม่สามารถรับไอน้ำได้อีกต่อไป
          ลูกเห็บ (hail) เกิดจากไอน้ำกกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ แล้วถูกพายะหอบสูงขึ้นไปในระดับความสูงที่มีอุณหภูมิของอากาศเย็นจัด  หยดน้ำจะกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง  มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากจนอากาศไม่สามารถอุ้มไว้ได้จึงตกลงมา บางครั้งเกล็ดน้ำแข็งนั้นอาจถูกพายุหอบขึ้นไปกระทบความเย็นในบรรยากาศระดับสูงอีกก่อนตกถึงพื้น ทำให้เกล็ดน้ำแข็งหรือลูกเห็บมีขนาดใหญ่ขึ้น
          หิมะ (snow)  เกิดจากไอน้ำได้รับความเย็นจัด ควบแน่นเป็นละอองน้ำแข็งตกลงสู่พื้น
          ฝน (Rain) เกิดจากละอองน้ำในก้อมเมฆซึ่งเย็นจัดลง ไอน้ำกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเกาะกันมาก และหนักขึ้นจนลอยอยู่ไม่ได้ และตกลงมาด้วยแรงดึงดูดของโลก
          ปริมาณน้ำฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ำฝนในภาชนะที่รองรับน้ำฝน เครื่องมือปริมาณน้ำฝนเรียกว่า เครื่องวัดน้ำฝน(rain gauge )

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงานประเภทการสำรวจ (Survey Research Project)

แนวข้อสอบพร้อมเฉลย วิชาพลังงาน

โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ (Developmental Research Project or Invention)