การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)



การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  (Inquiry  Process)
   แนวคิด
       เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบค้น  สืบเสาะ  สำรวจ  ตรวจสอบ  และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ  จนเกิดความเข้าใจและรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  ประกอบด้วย
1.  ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)  เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยนำเรื่องที่สนใจ  อาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น  หรือเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เรียนมาแล้ว  เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม  เป็นแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
2.  ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจ  มีการกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ  ตั้งสมมติฐาน  กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้  ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล  ข้อสนเทศหรือปรากฏการณ์ต่างๆ  วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี  เช่น  ทำการทดลอง  ทำกิจกรรมภาคสนาม  การศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ
3.  ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)  เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอ  จึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์  แปลผล  สรุปผล  นำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่างๆ  เช่น  บรรยายสรุป  สร้างแบบจำลองหรือรูปวาด
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)  เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมแนวคิดที่ได้จะช่วยเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ  ทำให้เกิดความรู้กว้างขึ้น
5.   ขั้นประเมิน (Evaluation)  เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ  ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง  อย่างไรและมากน้อยเพียงใด  จากนั้นจะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ
ประโยชน์
                กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหา  หลักและหลักการ  ทฤษฎี  ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบพร้อมเฉลย วิชาพลังงาน

โครงงานประเภทการสำรวจ (Survey Research Project)

โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ (Developmental Research Project or Invention)