การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
แนวคิด
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง
โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา
ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น
ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น
เช่นผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา
หรือผุ้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์
ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น
จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น
ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งผู้เรียนจะใช้วิธีการหรือกระบวนการต่าง ๆ
ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา หรือปัญหา
ดังนั้นจึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย เช่น
การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองโดยวิธีอุปนัย การที่ผู้เรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาแล้วนำไปสู่การค้นพบ มีการกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูล ทดสอบสมมติฐานและสรุปข้อค้นพบ
ซึ่งอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการทดลองด้วย
การที่ผู้สอนจัดโปรแกรมไว้ให้ผู้เรียนใช้การคิดแบบอุปนัยและนิรนัยในเรื่องต่างๆ ก็สามารถได้ข้อค้นพบด้วยตนเอง
ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา
แนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้วิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสม
จากเหตุผลดังกล่าว
ขั้นตอนการเรียนรู้จึงปรับเปลี่ยนไปตามวิธีหรือกรอบกระบวนการต่างๆที่ใช้ แต่ในที่นี้จะเสนอผลการพบความรู้ ข้อสรุปใหม่ ด้วยการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1.
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน
2.
ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วย
2.1 ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้ แบบอุปนัยในตอนแรก
เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
2.2 ผู้สอนใช้วิธีตัดการเรียนรู้ แบบนิรนัย เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ในข้อ 2 ไปใช้เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม โต้ตอบ หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
2.3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่
3.
ขั้นนำไปใช้
ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอแนวทางการนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหา
อาจใช้วิธีการให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบหลังเรียน
เพื่อประเมินผลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่
ประโยชน์
1.
ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
2.
ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
3.
ผู้เรียนมีความมั่นใจ
เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
4.
ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
5.
ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
6.
ก่อให้เกิดแรงจูงใจ
ความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง
7.
ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เช่น การหาข้อมูล
การวิเคราะห์และสรุปข้อความรู้
8.
เหมาะสมกับผู้เรียนที่ฉลาด
มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น