อย่าว่าอะไรเด็ก ถ้าคุณยังไม่รู้จักโรคแอลดี (โรคการเรียนรู้บกพร่อง)
รู้จักโรคแอลดี
(โรคการเรียนรู้บกพร่อง)
LD ย่อมาจากคำว่า
learning disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า
โรคการเรียนรู้บกพร่อง เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน
การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง
โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่น ๆ ปกติดี
ข้อสังเกตอาการของเด็ก LD
1.ความบกพร่องด้านการอ่าน
- ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้
มากที่สุดของเด็ก LD ทั้งหมด
- เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ
พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ
- เด็กมักอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า
อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ - จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้
- ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
อย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
2. ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ
- ความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน
- เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ
สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง
- มักเรียงลำดับอักษรผิด
จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออกผ่านการเขียนได้
- ตามระดับชั้นเรียน
เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่าง น้อย 2
ระดับชั้นปี
3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์
- เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข
การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
- เด็กไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก
ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้
- เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ
ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
ความรู้สึกของเด็ก LD
ที่มีต่อตนเอง
ข้อมูลจากโรงพยาบาลมนารมย์
กล่าวถึง ความรู้สึกของเด็ก LD ที่มีต่อตนเองไว้ว่า
เด็กมักรู้สึกว่าตนเองเรียนไม่เก่ง มีปมด้อย มีอารมณ์เศร้า
บางครั้งเมื่อถูกบังคับให้ทำงานซ้ำ ๆ หรือเรียนพิเศษ เด็กก็จะต่อต้านการเรียน
ไม่อยากไปโรงเรียน เด็กมักพูดจาฉลาดโต้ตอบได้ดี แต่พอให้อ่าน เขียน คำนวณ
กลับทำได้ไม่ดี ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจ ดุว่าเป็นเด็กขี้เกียจ
ดื้อ เกเร เด็กบางคนก็อายที่ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้
แต่ไม่อยากให้ใครรู้ ก็เลยปฏิเสธการทำสิ่งต่าง ๆ ที่ทำไม่ได้
เด็กมักรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกด้อยที่ตนเองทำไม่ได้ทัดเทียมเพื่อน ๆ
และอาจจะแสดงพฤติกรรม ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
2. ไม่มีสมาธิในการเรียน
ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จทำงานสะเพร่า
3. ความจำไม่ดี
เรียนได้หน้าลืมหลัง
4. รู้สึกเบื่อหน่าย
ท้อแท้
5. ไม่มั่นใจในตนเอง
มักตอบว่า “ทำไม่ได้” “ไม่รู้”
6. อารมณ์ ขึ้น ๆ
ลง ๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
7. ก้าวร้าวกับเพื่อน
พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
8. ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
แนวทางการช่วยเหลือทางการแพทย์
1. พาลูกไปพบคุณหมอ
คุณหมอจะทำการซักประวัติอย่างละเอียดจากคุณพ่อคุณแม่
มีแบบสอบถามให้คุณครูของเด็กตอบ มีการวัดระดับเชาวน์ปัญญา
วัดความสามารถทางการเรียนด้านต่างๆ
2. ตรวจร่างกายและทดสอบทางจิตวิทยา
และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
3. ให้ความรู้ความเข้าใจ
ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวทางด้านจิตใจ
4. ถ้าเด็กมีภาวะอื่นร่วมด้วย
เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้า คงต้องให้ยาเพื่อรักษาโรคเฉพาะ
5. การบำบัดทางเลือกอื่น
ๆ เช่น ศิลปะบำบัด การกระตุ้นระบบประสาทและความรู้สึก
แนวทางการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา
1. โรงเรียนควรจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็ก
แต่ละด้านโดยทำความเข้าใจกับครูถึงปัญหาและความบกพร่องของเด็ก
2. เน้นการสอนเสริมในทักษะที่บกพร่อง
เช่น การสะกดคำ อ่าน เขียนสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือตัวต่อครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน
3. การช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง
เพื่อให้เด็กได้เนื้อหา ความรู้ ได้เร็วขึ้น
4. การให้เวลาในการทำสอบเพิ่มขึ้น
เพื่อให้เด็กมีเวลาเพียงพอในการ อ่านโจทย์ และเขียนตอบ
จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น
5. ส่งเสริมทักษะด้านอื่นๆ
ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
แนวทางการช่วยเหลือของครอบครัว
1. อธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก
รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
2. เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ
ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
3. ชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแม้ในเรื่องเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
หากเด็กได้รับการรักษาแต่เนิ่น
ๆ และรักษาตามแนวทางที่ถูกวิธี
ลูกของคุณพ่อคุณแม่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและสามารถหายได้นะคะ
เพียงแต่ต้องอาศัยความรักและความเข้าใจ รวมถึงการให้กำลังใจลูกในทุก ๆ
ทาง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น