ประสบการณ์ตรงในการสอนโครงงาน กศน.

                
ารสอนโครงงานวิทยาศาสตร์  

การศึกษาต้องคำนึงถึงคุณภาพทั้งด้านความรู้ กระบวนการเรียนรู้ และการเชื่อมโยงความรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดการปฏิบัติจริงเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้อย่างฉลาดและพอเพียง ตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียน
      การสอนแบบโครงงานเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาตามมาตรา 22 และ มาตรา 23 และใช้พัฒนาวิธีการเรียนรู้ทางปัญญา (Intellectual strategy) เพื่อเอื้อหนุนผู้เรียนให้เข้าถึงตัวความรู้ (Body of Knowledge) และความชำนาญทางด้านทักษะในสิ่งที่เรียน (Body of Process) เพราะเป็นการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีกระบวนการทำงานและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ

1. ความหมายของโครงงาน (Project)
โครงงาน คือ งานที่มอบหมายให้นักเรียนหรือกลุ่มนักเรียนทำตามรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร มีลักษณะงานเหมือนที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครู ตั้งแต่การคิดสร้างโครงงาน การวางแผนการดำเนินการ การออกแบบลงมือปฏิบัติรวมทั้งร่วมกำหนดแนวทางในการวัดผลและประเมิน



2. ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project)
โครงงานวิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการศึกษาค้นคว้าตามความถนัด ความสนใจ ความสามารถของผู้เรียนเองภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือผลงานที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง โดยนักเรียนเป็นผู้วางแผนการศึกษาค้นคว้าดำเนินการด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้มีเจตคติที่ดีต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาเท่านั้น



3. ความหมายของการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดการสอนที่จัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างมีระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดลอง ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง รู้จักการวางแผนการทำงาน ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ตลอดจนได้พัฒนากระบวนการคิดโดยเฉพาะการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking) และการประเมินตนเอง
4. ปรัชญาการศึกษาของการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานได้อาศัยพื้นฐานแนวคิดที่ว่ามนุษย์จะสร้างความรู้ใหม่ขึ้นจากการกระทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสอนในลักษณะดังกล่าวยังตั้งอยู่บนข้อสนับสนุนที่ว่าความรู้ใหม่ได้มาจากสิ่งที่สัมพันธ์กับความรู้ที่มีมาก่อน การสร้างความคิดริเริ่มใหม่และประสบการณ์เดิมที่ไม่เป็นทางการและยังสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าการเรียนรู้แบบโครงงานจะมีพลังมากยิ่งขึ้นถ้าได้รับการส่งเสริมจากสมาชิกในกลุ่มมากกว่าให้นักเรียนคนใดคนหนึ่งคิดคนเดียว การเรียนรู้แบบโครงงานถูกสร้างขึ้นจากความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการขยายแหล่งเรียนรู้ของตนให้กว้างขวางขึ้น จากข้อมูลที่มีอยู่ในตำราเล่มหนึ่งไปสู่การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และนำความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่มารวมกัน แนวคิดดังกล่าวพอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพด้านการคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา และการคิดขั้นสูง
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนและทำงานร่วมกัน ได้ฝึกภาวะผู้นำและผู้ตาม
4. เพื่อจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการดำรงชีวิต
5. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำโครงงาน
บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
5.1 อาจารย์ผู้สอนวิชาโครงงาน
(1) ให้คำปรึกษา แนะนำ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหัวข้อโครงงาน และวิธีการเขียนโครงงาน
(2) จัดงบประมาณ อุปกรณ์สนับสนุนแต่ละโครงงาน
(3) ติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของผู้เรียนแต่ละสัปดาห์
(4) เป็นกรรมการตรวจสอบโครงงาน
(5) รวบรวมผลการประเมินเพื่อตัดสินความสำเร็จในวิชาโครงงานของนักเรียน
(6) ประชาสัมพันธ์หรือจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานโครงงานไปสู่สาธารณชน และสถานประกอบการ
5.2 อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
(1) ให้ความรู้ด้านทฤษฎี หลักการ กระบวนการ วิธีการคิด และยุทธศาสตร์การคิด
(2) ให้คำแนะนำ ชี้แนะแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ และวิธีการดำเนินงานที่ถูกต้อง
(3) ให้ความรู้ ทักษะ และเทคนิคในการทำโครงงาน
(4) เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
ครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1 หน้า 30
(5) เป็นกรรมการสอนโครงงานทั้งหมด ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
(6) ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
(7) ติดตามผลและประเมินผลวิชาโครงงาน
6. ประเภทของโครงงาน
ประเภทของโครงงาน แบ่งตามลักษณะของกิจกรรมได้ 4 ประเภท คือ
1. โครงงานประเภทสำรวจ (Survey Research Project)
2. โครงงานประเภททดลอง (Experimental Research Project)
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ (Development Research Project)
4. โครงงานประเภททฤษฎี (Theoretical Research Project)


7. รายละเอียดของโครงงานแต่ละประเภท

7.1 โครงงานประเภทสำรวจ
โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนเพียงแต่ต้องการสำรวจและรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ เช่น
- การสำรวจประชากรและชนิดของผีเสื้อในบริเวณป่าเขามหาชัย
- การสำรวจพฤติกรรมของปลาตีนบริเวณป่าชายเลนของชายหาดอำเภอสิชล
- การสำรวจคุณภาพน้ำในคลองหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- การสำรวจมลพิษของอากาศบริเวณสะพานลอยสี่แยกท่าวัง ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ฯลฯ



7.2 โครงงานประเภทการทดลอง
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของ ตัวแปรหนึ่งที่มีผลต่อตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้
ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้จะประกอบด้วยการกำหนดปัญหา การกำหนดจุดประสงค์ การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การดำเนินการทดลอง การรวบรวมข้อมูล การตีความหมายข้อมูลและการสรุป ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ เช่น
- การเปรียบเทียบผลของสารเคมีที่มีผลต่อการพัฒนาการทางกายและการเจริญเติบโตของหนูขาว
ครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1 หน้า 32 - การศึกษาผลของความเข้มข้นของผงซักฟอกที่มีต่อพฤติกรรมของลูกน้ำ
- ผลของความเข้มข้นของแสงที่มีต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายหางกระรอก
- ผลของความเข้มข้นของสารละลายควันบุหรี่ (smoke solution) ที่มีต่อการงอกของเมล็ดข้าวโพด
- ผลของความเข้มสนามแม่เหล็กที่มีต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายหางกระรอก
ฯลฯ



7.3 โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเกี่ยวกับการประยุกต์
ทฤษฎี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์หรือด้านอื่น ๆ มาประดิษฐ์ของเล่น เครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ อาจจะเป็นด้านสังคม หรือด้านวิทยาศาสตร์ หรือการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวคิดต่าง ๆ ด้วย ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่
- โครงงานประดิษฐ์หุ่นยนต์เฝ้าประตูบ้าน
- โครงงานประดิษฐ์กระดิ่งไฟฟ้าไล่กระรอกในสวนเงาะ
- โครงงานประดิษฐ์สื่อการสอนวิชาภาษาไทย



- โครงงานประดิษฐ์ปิ่นโตอิเล็กทรอนิกส์
- แบบจำลองการใช้พลังงานความร้อนในโรงเพาะเห็ด
- แบบจำลองการวางผังบ่อน้ำพุในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ฯลฯ



7.4 โครงงานประเภททฤษฎี
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานนำเสนอทฤษฎี หลักการ
หรือแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของสูตรสมการ หรือคำอธิบายก็ได้ โดยผู้เสนอได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาเอง แล้วนำเสนอทฤษฎี หลักการหรือแนวคิด หรือจินตนาการของตนเองตามกติกาหรือข้อตกลงนั้น หรืออาจจะใช้กติกาหรือข้อตกลงเดิมมาอธิบายก็ได้ ผลการอธิบายอาจจะใหม่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน หรืออาจจะขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม หรืออาจจะเป็นการขยายทฤษฎีหรือแนวคิดเดิมก็ได้ ซึ่งผู้ที่ทำโครงงานประเภทนี้ต้องมีพื้นฐานความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ อย่างดี โครงงานประเภทนี้ ได้แก่ โครงงานทฤษฎีของเซต โครงงานทฤษฎีดาวเคราะห์น้อย โครงงานทฤษฎีการเกิดโลก โครงงานทฤษฎีการเกิดคลื่นความร้อนในมหาสมุทร เป็นต้น









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบพร้อมเฉลย วิชาพลังงาน

โครงงานประเภทการสำรวจ (Survey Research Project)

โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ (Developmental Research Project or Invention)