1.5 การสังเคราะห์ด้วยเเสง
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
พืชสีเขียวมีบทบาทสำคัญต่อโลก คือ เป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานเคมีในรูปอาหาร โดยการนำเอาน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์มาทำปฏิกิริยาเคมีกัน โดยมีแสงเป็นพลังงานกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา ผลผลิตที่ได้คือ น้ำตาลกลูโคสซึ่งน้ำตาลส่วนหนึ่งจะนำไปสังเคราะห์เป็นสารอื่นเก็บสะสมไว้ และยังได้ไอน้ำ และแก๊สออกซิเจน ซึ่งพืขจะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมสำหรับแก๊สออกซิเจนจะเป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ
โครงสร้างของใบพืช
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบในภาพ คือ ใบพืชตัดตามขวางจากด้านบน (ด้านที่รับแสง) มายังด้านล่าง ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่าง ดังนี้
โครงสร้างของใบพืชตัดตามขวางจะเห็นเซลล์ที่มีรูปร่างแตกต่างกันไป
ความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสง
พืชสีเขียวมีบทบาทสำคัญมากต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนพื้นโลก รวมทั้งมนุษย์เราด้วย เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของกานใช้พลังงาน โดยการนำพลังงานแสงมาเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีในรูปของอาหารเก็บไว้ในรูปของเนื้อเยื่อ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน พลังงานเหล่านี้จะถ่ายทอดไปสู่สัตว์และคนที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร
นอกจากนี้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ยังได้แก๊สออกซิเจนและไอน้ำ ซึ่งจะถูกปล่อยออกจากใบสู่อากาศส่วนพืชในน้ำก็ปล่อยออกซิเจนสู่แหล่งน้ำ สัตว์ทั้งในน้ำและบนบกได้นำแก๊สออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยา ดังนั้น พืชสีเขียวจึงมีประโยชน์ช่วยลดปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
ดังนั้นจึงกล่าวไว้ว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้
มนุษย์และสัตว์มีกระบวนการหายใจโดยใช้แก๊ซออกซิเจนที่ได้รับจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
น้ำตาลเป็นสารชนิดแรกที่พืชสร้างขึ้นได้เองก่อนที่จะเปลี่ยนรูปไปเป็นแป้งและสารอื่น ๆ ต่อไปกระบวนการสร้างน้ำตาลของพืชเราเรียกว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ซึ่งพืชต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในกระบวนการนี้
ปัจจัยที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ปัจจัยสำคัญที่พืชจำเป็นต้องนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่
1) คลอโรฟิลล์ มีอยู่ในคลอโรพลาสต์
2) แสง คลอโรฟิลล์จะดูดซับพลังงานแสงเข้ามาในใบพืช
3) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ พืชจะรับเข้ามาทางปากใบที่เปิดในเวลากลางวัน
4) น้ำ รากพืชจะดูดน้ำขึ้นมาแล้วลำเลียงต่อไปยังใบโดยผ่านทางลำต้นพืช
การเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบพืช
การเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบพืช
จากปัจจัยที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงดังกล่าว แสดงว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีแสงเท่านั้น คือ ช่วงเวลากลางวันโดยใช้แสงจากดวงอาทิตย์
สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
พืชต้องการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยมีคลอโรฟิลล์ และแสง เป็นตัวกระตุ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ น้ำตาลกลูโคส และ แก๊สออกซิเจน ซึ่งสามารถเขียนปฏิกิรยาที่เกิดขึ้นได้ด้วยสมการเคมีที่เรียกว่า สมการการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้
6CO2 + 6H2O แสง C6H12O6 + 6O2 + 6H2O
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ คลอโรฟิลล์ น้ำตาลกลูโคส แก๊สออกซิเจน น้ำ
คุณรู้หรือไม่ ?
ในใบพืชที่มีสีอื่น เช่น สีแดง สีเหลือง หรือสีน้ำตาล เช่น ใบโกสน หรือใบฤาษีผสมก็มีคลอโรฟิลล์อยู่ แต่เนื่องจากมีปริมาณคลอโรฟิลล์น้อย จึงทำให้มองเห็นสีเขียวได้ไม่ชัดเจน แต่ใบพืชเหล่านี้ยังสามารถสร้างอาหารได้เช่นกัน ส่วนใบพืชที่กลายพันธุ์เป็นสีขาวจะไม่สามารถสร้างอาหารได้ หากกลายพันธุ์หมดทั้งต้นจะเรียกว่า พืชเผือก ซึ่งต้นพืชจะมีสีขาวทั้งต้นและมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน เช่น ข้าวโพดเผือก จะไม่สามารถเจริญเติบโตจนออกฝักได้
พืชสีเขียวมีบทบาทสำคัญต่อโลก คือ เป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานเคมีในรูปอาหาร โดยการนำเอาน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์มาทำปฏิกิริยาเคมีกัน โดยมีแสงเป็นพลังงานกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา ผลผลิตที่ได้คือ น้ำตาลกลูโคสซึ่งน้ำตาลส่วนหนึ่งจะนำไปสังเคราะห์เป็นสารอื่นเก็บสะสมไว้ และยังได้ไอน้ำ และแก๊สออกซิเจน ซึ่งพืขจะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมสำหรับแก๊สออกซิเจนจะเป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ
โครงสร้างของใบพืช
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบในภาพ คือ ใบพืชตัดตามขวางจากด้านบน (ด้านที่รับแสง) มายังด้านล่าง ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่าง ดังนี้
โครงสร้างของใบพืชตัดตามขวางจะเห็นเซลล์ที่มีรูปร่างแตกต่างกันไป
ความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสง
พืชสีเขียวมีบทบาทสำคัญมากต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนพื้นโลก รวมทั้งมนุษย์เราด้วย เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของกานใช้พลังงาน โดยการนำพลังงานแสงมาเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีในรูปของอาหารเก็บไว้ในรูปของเนื้อเยื่อ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน พลังงานเหล่านี้จะถ่ายทอดไปสู่สัตว์และคนที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร
นอกจากนี้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ยังได้แก๊สออกซิเจนและไอน้ำ ซึ่งจะถูกปล่อยออกจากใบสู่อากาศส่วนพืชในน้ำก็ปล่อยออกซิเจนสู่แหล่งน้ำ สัตว์ทั้งในน้ำและบนบกได้นำแก๊สออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยา ดังนั้น พืชสีเขียวจึงมีประโยชน์ช่วยลดปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
ดังนั้นจึงกล่าวไว้ว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้
มนุษย์และสัตว์มีกระบวนการหายใจโดยใช้แก๊ซออกซิเจนที่ได้รับจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
น้ำตาลเป็นสารชนิดแรกที่พืชสร้างขึ้นได้เองก่อนที่จะเปลี่ยนรูปไปเป็นแป้งและสารอื่น ๆ ต่อไปกระบวนการสร้างน้ำตาลของพืชเราเรียกว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ซึ่งพืชต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในกระบวนการนี้
ปัจจัยที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ปัจจัยสำคัญที่พืชจำเป็นต้องนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่
1) คลอโรฟิลล์ มีอยู่ในคลอโรพลาสต์
2) แสง คลอโรฟิลล์จะดูดซับพลังงานแสงเข้ามาในใบพืช
3) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ พืชจะรับเข้ามาทางปากใบที่เปิดในเวลากลางวัน
4) น้ำ รากพืชจะดูดน้ำขึ้นมาแล้วลำเลียงต่อไปยังใบโดยผ่านทางลำต้นพืช
การเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบพืช
การเกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบพืช
จากปัจจัยที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงดังกล่าว แสดงว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีแสงเท่านั้น คือ ช่วงเวลากลางวันโดยใช้แสงจากดวงอาทิตย์
สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
พืชต้องการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยมีคลอโรฟิลล์ และแสง เป็นตัวกระตุ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ น้ำตาลกลูโคส และ แก๊สออกซิเจน ซึ่งสามารถเขียนปฏิกิรยาที่เกิดขึ้นได้ด้วยสมการเคมีที่เรียกว่า สมการการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้
6CO2 + 6H2O แสง C6H12O6 + 6O2 + 6H2O
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ คลอโรฟิลล์ น้ำตาลกลูโคส แก๊สออกซิเจน น้ำ
คุณรู้หรือไม่ ?
ในใบพืชที่มีสีอื่น เช่น สีแดง สีเหลือง หรือสีน้ำตาล เช่น ใบโกสน หรือใบฤาษีผสมก็มีคลอโรฟิลล์อยู่ แต่เนื่องจากมีปริมาณคลอโรฟิลล์น้อย จึงทำให้มองเห็นสีเขียวได้ไม่ชัดเจน แต่ใบพืชเหล่านี้ยังสามารถสร้างอาหารได้เช่นกัน ส่วนใบพืชที่กลายพันธุ์เป็นสีขาวจะไม่สามารถสร้างอาหารได้ หากกลายพันธุ์หมดทั้งต้นจะเรียกว่า พืชเผือก ซึ่งต้นพืชจะมีสีขาวทั้งต้นและมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน เช่น ข้าวโพดเผือก จะไม่สามารถเจริญเติบโตจนออกฝักได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น