ปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox reaction)

ปฏิกิริยารีดอกซ์  (Redox  reaction)
                   คำว่า ปฏิกิริยารีดอกซ์  เป็นกระบวนการเผาไหม้  การเกิดสนิม  และการหายใจ  แต่เดิมนั้น หมายถึง ปฏิกิริยาที่มีการเกี่ยวข้องกับออกซิเจน  และไฮโดรเจน  ปัจจุบัน  ปฏิกิริยารีดอกซ์  หมายถึง  ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนอิเล็กตรอน  เกิดเป็นพลังงานทางเคมี  แล้วถูกปล่อยออกมาในรูปพลังงานไฟฟ้า  ซึ่งสามารถพบในเซลล์ถ่านไฟฉาย  แบตเตอรี่รถยนต์
                   Redox   มาจากคำวา  Reduction  +  Oxidation 
                   ปฏิกิริยา  Reduction  (รีดักชัน)  หมายถึง  ปฏิกิริยาที่มีการรับอิเล็กตรอน
                   ปฏิกิริยา  Oxidation  (ออกซิเดชัน)  หมายถึง  ปฏิกิริยาที่มีการให้อิเล็กตรอน

         ดังนั้น  ปฏิกิริยารีดอกซ์  (รีดักชัน + ออกซิเดชันจึงหมายถึง  ปฏิกิริยาที่มีการให้ และ รับอิเล็กตรอน  หรือ  ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนจากสารหนึ่งไปยังอีกสารหนึ่ง  นั่นเอง

Antceine  Lawoisir  (.. 1743 - 1794)  เป็นบิดาแห่งเคมีแผนใหม่  ลาวัวซิเยร์  เป็นลูกชายของเศรษฐี นักกฎหมาย  เขาเป็นบุคคลแรกที่อธิบายปฏิกิริยารีดอกซ์  จากการเผาไหม้
ปฏิกิริยาเคมีแบ่งโดยการใช้การถ่ายโอนอิเล็กตรอนเป็นเกณฑ์ มี  ชนิด  คือ
         1.  ปฏิกิริยารีดอกซ์  (Redox  reaction) 
                        ปฏิกิริยารีดอซ์  หรือ  ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน  คือ  ปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนอิเล็กตรอน หรือ เป็นปฏิกิริยาที่มีการให้ และรับอิเล็กตรอน
      2. ปฏิกิริยานอนรีดอกซ์  (Non-redox  reaction)
                        ปฏิกิริยานอนรีดอกซ์  คือ  ปฏิกิริยาที่ไม่มีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนหรือเป็นปฏิกิริยาที่ไม่มีการให้และรับอิเล็กตรอนในปฏิกิริยานั้น  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวข้อสอบพร้อมเฉลย วิชาพลังงาน

โครงงานประเภทการสำรวจ (Survey Research Project)

โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ (Developmental Research Project or Invention)