ปฏิกิริยารีดอกซ์
ปฏิกิริยารีดอกซ์ คือ ปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน โดยมีส่วนหนึ่งเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น (ให้อิเล็กตรอน) และอีกส่วนหนึ่งเลขออกซิเดชันลดลง (รับอิเล็กตรอน)
ปฏิกิริยารีดอกซ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน คือ
ปฏิกิริยาที่มีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น
และเรียกสารที่มีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้นว่า เป็นตัวรีดิวส์
ปฏิกิริยารีดักชัน คือ
ปฏิกิริยาที่มีเลขออกซิเดชันลดลง
และเรียกสารที่มีเลขออกซิเดชันลดลงว่าเป็นตัวออกซิไดส์
ตัวออกซิไดซ์และตัวรีดิวซ์ของสารในปฏิกิริยารีดอกซ์
ปฏิกิริยารีดอกซ์
หรือปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน เป็นปฏิกิริยาที่มีการถ่ายโอนอิเล็กตรอน
หรือเป็นปฏิกิริยาที่มีเลขออกซิเดชันของธาตุเปลี่ยนแปลง ซึ่งเขียนแยกเป็นสองส่วนได้ และแต่ละส่วนของปฏิกิริยามีชื่อเรียกแตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วย 2 ปฏิกิริยาดังนี้
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction)
คือ ปฏิกิริยาที่มีการให้อิเล็กตรอนเกิดขึ้น โดยเรียกสารที่ให้อิเล็กตรอนว่า ตัวรีดิวซ์ (Reducer หรือ Reducing agent)
ปฏิกิริยารีดักชัน (Reduction reaction)
คือ ปฏิกิริยาที่มีการรับอิเล็กตรอนเกิดขึ้น โดยเรียกสารที่รับอิเล็กตรอนว่า ตัวออกซิไดส์ (Oxidizing agent)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น