การเข้าค่ายฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ปี 2554
โครงการ การเข้าค่ายฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน
แผนงบประมาณ เร่งรัดปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สนองกลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับฯ
จุดเน้น เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ลักษณะของโครงการ โครงการใหม่
ระยะเวลาดำเนินการ กุมภาพันธ์ 2554 – กันยายน 2554
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นวิชาที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศในทุกๆ
ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้นสังคม ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรม
และด้านเกษตรกรรม จากการสังเกตประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจดี
มีรายได้ประชากรสูง ประเทศเหล่านั้นจะมีการส่งเสริมกิจกรรมและเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความเข้าใจ
มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประดิษฐ์
มีจิตสำนึกทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรู้จักเลือกและใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
ประกอบกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบันจำเป็นต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
มีทักษะกระบวนการในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบและเป็นคนมีเหตุผลในการคิด
สามารถนำความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ไปบูรณาการใช้ในการดำเนินชีวิตได้
และสามารถคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิธีแก้ปัญหา
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักเสียสละและทำประโยชน์ให้แก่สังคม
ดังนั้นโรงเรียน
จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และได้ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมเข้าค่ายฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งเป้นวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนานักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนของประเทศ
และส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ให้สูงขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. นักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนฟิสิกส์
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
และมีความสามารถในกระบวนการทางฟิสิกส์
3. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
มีความสามัคคีในหมู่คณะ ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
3. เป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน
50
4. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ผลผลิต (Outputs)
1. นักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญ
มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนฟิสิกส์
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
และมีความสามารถในกระบวนการทางฟิสิกส์
3. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีความสามัคคีในหมู่คณะ
ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ผลลัพธ์ (Outcomes)
1. นักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญ
มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนฟิสิกส์
2. นักเรียนสามารถนำความรู้
ทักษะกระบวนการและประสบการณ์ตรงจากการทดลองทางฟิสิกส์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. สถานที่ดำเนินการ
โรงเรียนกลันทาพิทยาคม
ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
6. ระยะเวลาดำเนินการ
1
กุมภาพันธ์ 2554
ถึง 30 กันยายน 2554
งบประมาณ บาท
7. กิจกรรมและการดำเนินการ
2. ประชุมชี้แจงโครงการ
3. ดำเนินงานตามโครงการ
4รายงานผลโครงการ
5. สรุปผลโครงการ
8.การติดตามประเมินผล
2. การสังเกต
3. การทดสอบก่อนและหลังเข้าค่าย
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความตระหนักถึงความสำคัญและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนฟิสิกส์
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
และมีความสามารถในกระบวนการทางฟิสิกส์
3. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
มีความสามัคคีในหมู่คณะ ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มและอยู่ร่วมกันอย่างมี
(ลงชื่อ) จุฑารัตน์ อุสาทรัพย์ ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวจุฑารัตน์ อุสาทรัพย์)
1. สรุปผล
1.1 เป้าหมายด้านปริมาณ
1.1.1 นักเรียน ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน
1.2 เป้าหมายด้านคุณภาพ จากการประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า
1.2.1 โครงการค่ายฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน ประจำปี 2554 พบว่า ความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 มีระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
1.2.2 นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง สามารถศึกษาค้นคว้า และพัฒนาตนเอง
1.2.3 นักเรียนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
1.2.4 นักเรียนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน และเกิดความสามัคคีในชั้นเรียน
2. ข้อเสนอแนะ
1.ควรให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม
2.ควรให้นักเรียนในระดับชั้นอื่นๆได้เข้าร่วมกิจกรรม
3.ควรมีกิจกรรมที่หลายหลาย
4. ควรมีวิทยากรจากที่อื่นมาให้ความรู้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น