รายวิชา ฟิสิกส์เพิ่มเติม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1
คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
รายวิชา
ฟิสิกส์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1
จำนวนเวลา 3 ชั่วโมง/ สัปดาห์ จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ศึกษาความรู้ทางฟิสิกส์
ประวัติความเป็นมา พัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ การวัดปริมาณทางฟิสิกส์ ความคลาดเคลื่อนในการวัด
การแสดงผลการทดลองในรูปของกราฟ ความหมายจากกราฟเส้นตรง
ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง การกระจัด ความเร็ว
ความเร่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงที่มีความเร่งคงตัวจากกราฟและสมการ
ค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก แรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎความโน้มถ่วงสากล
การใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง
ๆ ในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและวัตถุเคลื่อนที่
สัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง
ๆ และนำความรู้เรื่องแรงเสียดทานไปใช้ในชีวิตประจำวัน การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
และปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสู่ศูนย์กลาง รัศมีของการเคลื่อนที่ อัตราเร็วเชิงเส้น
อัตราเร็วเชิงมุม
มวลของวัตถุในการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบระดับ
การประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายการโคจรของดาวเทียม
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การอธิปราย
การอธิบายและการสรุปผล
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้
ความคิด และความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตตนเอง ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์
จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด
1. สืบค้นและอธิบายการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์
ประวัติความเป็นมา
รวมทั้งพัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ที่มีผลต่อการแสวงหาความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยีได้
2. วัดและรายงานผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ได้ถูกต้องเหมาะสม
โดยนำความคลาดเคลื่อนในการวัดมาพิจารณาในการนำเสนอผล รวมทั้งแสดงผลการทดลองในรูปของกราฟ
วิเคราะห์และแปลความหมายจากกราฟเส้นตรงได้
3. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่ง
การกระจัด ความเร็ว
และความเร่งของการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงที่มีความเร่งคงตัวจากกราฟและสมการ
รวมทั้งทดลองหาค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
4. ทดลองและอธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกันได้
5. เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุอิสระ
ทดลองและอธิบายกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันและการใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ
รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
6. อธิบายกฎความโน้มถ่วงสากลและผลของสนามโน้มถ่วงที่ทำให้วัตถุมีน้ำหนัก
รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
7. วิเคราะห์ อธิบาย
และคำนวณแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ
ในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและวัตถุเคลื่อนที่ รวมทั้งทดลองหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง
ๆ และ
นำความรู้เรื่องแรงเสียดทานไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
8. อธิบาย วิเคราะห์
และคำนวณปริมาณต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
และทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได้
9. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงสู่ศูนย์กลาง
รัศมีของการเคลื่อนที่ อัตราเร็วเชิงเส้น อัตราเร็วเชิงมุม
และมวลของวัตถุในการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบระดับ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลมในการอธิบายการโคจรของดาวเทียมได้
รวม 9 ตัวชี้วัด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น