คลื่น
เรื่องคลื่น
การเคลื่อนที่แบบคลื่น เป็นการถ่ายทอดพลังงานและโมเมนตัม
จากแหล่งกำเนิดไปยังบริเวณโดยรอบ
การเกิดคลื่นมีองค์ประกอบ
1. แหล่งกำเนิด
2.
การสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิด
3.
ตัวกลาง (เฉพาะคลื่นกล)
1. การจำแนกคลื่น
1.1 จำแนกคลื่นตามการใช้ตัวกลางในการแผ่
ก.
คลื่นกล (Mechanical wave) คือ คลื่นที่อาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นน้ำ
คลื่นในเส้นเชือกรูปร่างคลื่นบนเส้นเชือกและคลื่นบนผิวน้ำที่เกิดขึ้นเป็นรูปไซน์ (Sine
wave)
ข.
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) คือ คลื่นที่ไม่อาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่
โดยการเคลื่อนที่เกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ได้แก่ คลื่นแสง คลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ คลื่นรังสี x – ray
1.2
จำแนกคลื่นตามการสั่นของแหล่งกำเนิด
ก.
คลื่นตามขวาง (Transverse wave) คือ คลื่นที่ทิศทางการเคลื่อนที่อนุภาคของตัวกลางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น
ได้แก่ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นน้ำ * คลื่นตามขวางอาจเป็นคลื่นกล
หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ได้ *
ข. คลื่นตามยาว
(Longitudinal
wave) คือ คลื่นที่ทิศทางการเคลื่อนที่อนุภาคของตัวกลางขนานกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น
ได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นที่เกิดจากการอัดและขยายของขดลวดสปริง * คลื่นตามยาวทุกแบบเป็นคลื่นกล
*
1.3
จำแนกคลื่นตามความต่อเนื่องของแหล่งกำเนิด
ก. คลื่นดล
(Pulse
wave) คือ คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่นเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้ง
ทำให้เกิดคลื่นเพียงหนึ่งหรือสองลูกคลื่นเท่านั้น เช่น
การโยนก้อนหินก้อนเดียวลงไปในน้ำ จะพบว่าคลื่นดลเพียงกลุ่มหนึ่งกระจายออกไปรอบๆ
ไม่นานผิวน้ำจะนิ่ง คลื่นดลอาจมีลักษณะกระจายออกจากแหล่งกำเนิดเป็นแนวตรง
หรือเป็นวงกลมก็ได้แล้วแต่แหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดคลื่น
ข.
คลื่นต่อเนื่อง (Continuous wave) คือ คลื่นที่เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดหลายครั้งติดต่อกัน
ทำให้เกิดคลื่นหลายลูกติดต่อกัน เช่น คลื่นน้ำที่เกิดจากการใช้มอเตอร์
ทำให้ไม้ในถาดคลื่นสั่น จึงเป็นคลื่นน้ำ
2. ส่วนประกอบของคลื่น
1. สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (Crest) คือ ส่วนที่นูนหรือสันบนสุดของคลื่นแต่ละลูก
2.
ท้องคลื่น (Trough) คือ ส่วนล่างสุดของคลื่นแต่ละลูก
4. ช่วงกว้างของคลื่น หรือ แอมพลิจูด (Amplitude ; A) คือ ระยะกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากแนวสมดุลไปยังสันคลื่นหรือท้องคลื่น
โดยพลังงานของคลื่น
(แอมพลิจูด)2
10. รังสี (Ray) คือ เส้นแสดงแนวหรือทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น
โดยรังสีของคลื่นจะมีทิศตั้งฉากกับหน้าคลื่นเสมอ
3.
การกระจัด (Displacement) คือ ระยะที่วัดจากแนวกลาง (แนวสมดุล)
ไปยังตำแหน่งใดๆ บนคลื่น
คลื่นน้ำ
แอมพลิจูด แสดง ความสูงต่ำของการกระเพื่อมของน้ำ
คลื่นเสียง แอมพลิจูด แสดง ความดังค่อยของเสียง
คลื่นแสง แอมพลิจูด แสดง ความเข้มของแสง (มืด – สว่าง)
5.
ความยาวคลื่น (Wave length ;
) คือ ความยาวของ 1
คลื่น เป็นระยะทางที่วัดจากเฟสถึงเฟสเดียวกันของคลื่นถัดไป
6. เฟส (Phase) คือ การเรียกตำแหน่งบนคลื่น
โดยมีความสัมพันธ์กับการกระจัดของการเคลื่อนที่ของคลื่น
7.
คาบ (Period : T) คือ เวลาของการเกิดคลื่น 1 คลื่น
วัดเวลาจากเฟสถึงเฟส ของคลื่นที่ต่อเนื่องกัน
8.
ความถี่ (Frequency ; f) คือ จำนวนคลื่นใน 1 หน่วยเวลา โดย
9. หน้าคลื่น (Wave front) คือ
แนวทางเดินของตำแหน่งบนคลื่นที่มีเฟสเท่ากัน
ในคลื่นขบวนหนึ่งอาจมีหน้าคลื่นกี่หน้าก็ได้ และหน้าคลื่นที่ติดกันจะห่างกันเท่ากับความยาวคลื่น
- หน้าคลื่นเส้นตรง เกิดจากแหล่งกำเนิดเป็นสันยาว
เช่น สันไม้บรรทัดกระทบผิวน้ำ ทิศทางคลื่นขนานกัน
- หน้าคลื่นวงกลม เกิดจากแหล่งกำเนิดเป็นจุด เช่น
ปลายดินสอกระทบผิวน้ำ ทิศทางคลื่นเป็นแนวรัศมีของวงกลม
- หน้าคลื่นที่เขียนด้วยเส้นเต็ม คือ
หน้าคลื่นที่เป็นสันคลื่น (เฟส
หรือ 90 องศา)
- หน้าคลื่นที่เขียนด้วยเส้นประ คือ
หน้าคลื่นที่เป็นท้องคลื่น (เฟส
หรือ 270 องศา)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น