บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2017

กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ภาคเรียนที่ 2 / 2559

รูปภาพ

ทัศนศึกษา การแสดงของช้างสุรินทร์

รูปภาพ

ปรากฏการทางลมฟ้าอากาศ

รูปภาพ
                                                                    ปรากฏการทางลมฟ้าอากาศ           ลมฟ้าอากาศ คือ สภาวะของบนพื้นที่ใด ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ส่วน ภูมิอากาศ คือ สภาวะโดยทั่วไปของลมฟ้าอากาศบนพื้นที่ใด ๆ ในช่วงเวลานาน ๆ ลมฟ้าอากาศหรือภูมิอากาศมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน   การทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภูมิอากาศจะมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรในการเลือกชนิดหรือพันธุ์พืชที่ต้องการปลูกให้ได้ผลดี   การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ทิศทางลม หรือทิศทางที่ได้รับแสงอาทิตย์              เมื่อน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ จะระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ   ทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ขึ้น              หมอก ( fog ) เกิดจากไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ   ลอยอยู่ในอากาศใกล้พื้นโลก   โดยขนาดของไอน้ำจะมีขนาดใหญ่กว่าหยดน้ำในเมฆ            น้ำค้าง ( dew ) เกิดจากไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงในตอนกลางคืน ทำให้อากาศอิ่มตัว   โดยอุณหภูมิลดลงจนกระทั่งอากาศไม่สามารถรับไอน้ำได้อีกต่อไป           

อากาศ

ความดันของอากาศ              ความดันของอากาศหรือความดันบรรยากาศ คือ ค่าแรงดันอากาศที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดันนั้น              เครื่องมือวัดความดันอากาศ เรียกว่า บารอมิเตอร์              เครื่องมือวัดความสูง เรียกว่า แอลติมิเตอร์              ความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล สรุปได้ดังนี้              1. ที่ระดับน้ำทะเล ความดันอากาศปกติมีค่าเท่ากับความดันอากาศที่สามารถดันปรอทให้สูง 76 cm หรือ 760 mm หรือ 30 นิ้ว              2. เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดของอากาศจะลดลงทุกๆ ระยะความสูง 11 เมตรระดับปรอทจะลดลง 1 มิลลิเมตร อุณหภูมิของอากาศ               การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงในบรรยากาศชั้นนี้พบว่า โดยเฉลี่ยอุณหภูมิจะลดลงประมาณ 6.5 ๐ C  โดยในช่วงความสูงจากระดับน้ำทะเล 0 - 10 กิโลเมตร ความชื้นของอากาศ               ความชื้นของอากาศ หมายถึง ปริมาณไอน้ำในอากาศที่เกิดจากกระบวนการระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ   และกระบวนการคายของพืช ซึ่งการระเหยและการคายน้ำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ               1. อุณหภู

เข้าค่ายลูกเสือที่ค่ายลูกเสือไพรรีวิจิตร สุรินทร์

รูปภาพ

การไปสอบโอเน็ตของกลันทาพิทยาคม ที่บุรีรัมย์พิทยาคม

รูปภาพ

แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้แก๊สเป็นเกณฑ์

4. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้แก๊สเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้น คือ      1. โทรโพสเฟียร์   เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดกับพื้นโลก สูง 0-10 กม. มีแก๊สที่สำคัญคือ ไอน้ำ      2. โอโซโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง 10-50 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ โอโซน      3. ไอโอโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง 80-600 กม. มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน      4. เอกโซเฟียร์   เป็นชั้นบรรยากาศซึ่งสูงตั้งแต่ 600 กม. ขึ้นไป โดยความหนาแน่นของอะตอมต่างๆ มีค่าน้อยลง
3. การจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ความเกี่ยวข้องกับ อุตุนิยมวิทยา จัดจำแนกได้ถึง 5 ชั้น คือ 1. ชั้นที่มีอิทธิพลของความฝืด บรรยากาศชั้นนี้จะอยู่ถึงระดับความสูง 2 กิโลเมตรจากพื้นผิวของโลก เป็นบริเวณที่มีการไหลเวียนไปมาของอากาศ ความร้อนจากผิวโลกจะทำให้อากาศในบรรยากาศชั้นนี้มีโครงสร้างที่แปรเปลี่ยนไป ด้วยการถ่ายทอดความร้อนให้กับอากาศในบริเวณนั้นๆ 2. โทรโพสเฟียร์ส่วนชั้นกลางและชั้นบน บรรยากาศชั้นนี้จะมีการลดลงของอุณหภูมิขณะความสูงเพิ่มขึ้น อิทธิพลของความฝืดจะมีผลทำให้การไหลเวียนของอากาศน้อยลง 3. โทรโพพอส ( tropopause) บรรยากาศชั้นนี้อยู่ระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์ บรรยากาศชั้นนี้จะแบ่งเป็นชั้นที่มีไอน้ำและชั้นที่ไม่มีไอน้ำ 4. สตราโทสเฟียร์ ( startosphere) บรรยากาศชั้นนี้จะมีความชื้น ฝุ่นละอองเพียงเล็กน้อย และมีโอโซนหนาแน่น 5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นสตราโทสเฟียร์ไปจนไปจดขอบนอกสุดของชั้นบรรยากาศโลกอุณหภูมิของอากาศ
  2. การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ชั้น             1. โทรโพสเฟียร์( Troposphere ) สูงจากพื้นดินสูงขึ้นไป 10 กิโลเมตร มีลักษณะดังนี้                  - มีอากาศประมาณร้อยละ 80 ของอากาศทั้งหมด                  - อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 6.5 ๐ C ต่อ 1 กิโลเมตร                  - มีความแปรปรวนมาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่ไอน้ำ เมฆ ฝน พายุต่างๆ ฟ้าแลบฟ้าร้องและฟ้าผ่า             2. สตราโทสเฟียร์( Mesosphere ) อยู่สูงจากพื้นดิน 10-50 กิโลเมตร มีอากาศเบาบาง มีเมฆน้อยมาก เนื่องจากมีปริมาณไอน้ำน้อยอากาศไม่แปรปรวน เครื่องบินบินอยู่ในชั้นนี้ มี แก๊สโอโซน มาก ซึ่งอยู่ที่ความสูงประมาณ 25 กิโลเมตร ช่วยดูดกลืนรังสีอัตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ไว้บางส่วน             3. มีโซสเฟียร์( Mesosphere ) สูงจากพื้นดินประมาณ 50-80 กิโลเมตร อุณหภูมิลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นสุดเขตของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า มีโซพอส ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ -140 ๐ C เป็นบรรยากาศชั้นที่ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลก             4. เทอร์โมสเฟียร์( Thermosphere ) อยู่สูงจากพื้นดินประม
การแบ่งชั้นบรรยากาศ การแบ่งชั้นบรรยากาศ สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบ ดังต่อไปนี้      1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง      2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์      3. แบ่งชั้ f นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์      4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา 1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ      1. ชั้นบรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบน           1. โทรโพสเฟียร์ ( Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้เมฆ   พายุ   ลม และลักษณะอากาศต่างๆเกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้   อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ           2. สตราโตสเฟียร์ ( Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เอง ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาท
             บรรยากาศ ( Atmosphere ) หมายถึง อากาศที่อยู่ล้อมรอบๆตัวเราหรือที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ   ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไว้ทั้งหมดไม่สามารถมองหรือสังเกตได้         อากาศ ( Weather ) หมายถึง บรรยากาศบริเวณใกล้ผิวโลก และที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา         ความสำคัญของบรรยากาศ            - ช่วยทำให้เกิดกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต            - ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต            - ช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลต            - ป้องกันอนุภาคต่างๆ ที่มาจากนอกโลก องค์ประกอบของบรรยากาศ            บรรยากาศเป็นของผสม   ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ   3  ส่วน   คือ 1. ไนโตรเจน ( nitrogen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 78 โดยปริมาตร ไนโตรเจนทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศไม่เข้มข้น ทำให้การสันดาปซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีลดความรวดเร็วลง ไนโตรเจนในอากาศบางส่วนจะถูกแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ในรากพืชบางชนิด ตรึงเอาไปไว้เพื่อประโยชน์ของพืช เมื่อพืชและสัตว์ตายลงจะสลายตัวเป็นไนโตรเจนกลับสู่อากาศอีกครั้ง 2. ออกซิเจน ( oxygen) เป็นส